EP20 - Writing Practice

9 วิธีฝึกเขียนสำหรับผู้เริ่มต้น เคล็ดวิชาจากหนังสือ 100 Ways to Improve Your Writing ของ อ. Gary Provost

EP20 - Writing Practice

9 วิธีฝึกเขียนสำหรับผู้เริ่มต้น เคล็ดวิชาจากหนังสือ 100 Ways to Improve Your Writing ของ อ. Gary Provost ตำนานนักเขียนยุค 1980

ถึงหนังสือจะเก่า แต่ความเก๋าของ อ. Gary ไม่เป็นรองใคร เฉียบ เขียนเก่งขึ้นทันที 72.6% แค่ประยุกต์ใช้กฎ 9 ข้อนี้ (% ตัวเลขสมมตินะ ยั๊งงง 555+)

1. “Copy something” - ถ้ายังไม่รู้จะเขียนอะไร ลอง Copy & Paste บทความที่เราชอบ มานั่งศึกษาว่าทำไมผู้เขียนถึง “เลือกใช้” คำและประโยคแบบนั้น

Good artists copy, Great artist steal

Pablo Picasso

2. “Keep a journal” - จดบันทึกความคิด ไอเดีย และเรื่องราวต่างๆที่เราเจอในแต่ละวัน รูปแบบการเขียน Journal ที่ดีที่สุด คือแบบที่เรา ”สร้าง” มันขึ้นมาเอง

3. “Talk about what you’re writing” - เล่าให้คนอื่นฟังว่าเรากำลังเขียนอะไรอยู่ เพราะ “Knowledge is conversational” เพื่อนๆรอบตัวเราอาจมี Insights ที่ช่วยให้เราเขียนเรื่องนั้นดีขึ้นก็ได้

4. “Touch your toes” - ออกกำลังกายก่อนเขียน อ่านไม่ผิด 555+ ให้เลือดสูบฉีด เอา Oxygen ไปเลี้ยงสมอง อะไรที่ดีกับหัวใจดีกับสมองเสมอ

Gary ไม่ได้พูดสิ่งนี้ตรงๆในหนังสือ แต่เค้าแนะนำว่าควรเขียนเวลาที่ “Energy” เรายังเต็มหลอดอยู่ ถ้าเราล้าจากการทำงานทั้งวัน ให้พักก่อน นอนเลย ไว้ตื่นมาเขียนตอนเช้า เย้

5. “Do writing exercises” - ฝึกเขียนด้วยเทคนิค ”Free Writing” คิดค้นโดย Peter Elbow ในปี 1973 เป็นการเขียนที่ปลดล็อคความคิด ไม่มีข้อจำกัดใดๆ เหมือนการ ”Warm Up” ก่อนเขียนงานหลักของเรา

6. “Organize your material” - รวบรวมและจัดเรียงข้อมูลเพื่อสร้าง Story ที่เราอยากเล่า Gary แนะนำ “ให้เก็บมากกว่าที่เราจำเป็นต้องใช้” ยิ่งมี Input มากเท่าไหร่ เรายิ่งเขียนได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

We can only cook what’s in the fridge

Dan Koe

7. “Make a list” - เขียนลิสต์สิ่งสำคัญที่เราอยากจะ Cover ในบทความ สร้าง Outline ง่ายๆ เช่น สิ่งที่เราอยากให้ผู้อ่านได้รับ Key Message, Questions และ Takeaways

8. “Picture a reader” - นึกถึงหน้าผู้อ่านอยู่ตลอดเวลา นึกภาพเค้านั่งอ่านอยู่ข้างเรา อย่าใช้คำศัพท์ที่ทำให้เค้าหันมาถามเราว่า “ประโยคเมื่อกี้แปลว่าอะไร นายทำฉันงงไปหมดแล้ว ยั๊งงง” 555+

9. “Ask yourself why” - ถ้าเราตอบไม่ได้ว่าเราจะเขียนงานนั้นไปเพื่ออะไร อย่าเสียเวลาเขียนเลย ทุกงานเขียนต้องมีหนึ่ง “Job to be done” เสมอ เช่น ทำให้คนหัวเราะ ซื้อของ ร้องไห้ หรือได้ความรู้ ฯลฯ

แถมข้อ 10. “Write a Strong Beginning” คนจะกดอ่านหรือไม่อ่านบทความที่เราเขียน 99.99% อยู่ที่ชื่อ “Title” และ “Paragraph” ย่อหน้าแรก

  • เราออกแบบ Title หรือ Headline เพื่อทำให้คนหยุดอ่าน
  • ส่วน First Paragraph ทำให้เค้าอยากอ่านต่อ ย่อหน้าถัดๆไป
  • ถ้าเขียน Title ดีมาก แต่เนื้อหาข้างในไม่มีประโยชน์ใดๆ แบบนี้เรียก “Clickbait” อย่าหาทำ 555+

แค่ใช้ 9+1 วิธีที่ อ. Gary สอน งานเขียนเราจะทรงพลังขึ้นทันที ในหนังสือมีอีก 90 วิธีรอให้ทุกคนไปศึกษาต่อ อยากเขียนเก่ง ต้องอ่านเยย หนังสือดีต้องมีติดเชลฟ์

วันนี้แอดเขียน PodDash มาครบ 20 วัน ขยี้ตาสามที ไม่เคยเขียนติดกันได้นานขนาดนี้มาก่อน แถมอัดคอร์สใหม่เสร็จในวันเดียว นอนตอนไหน 🤣

“Writing 101 - A Tool for Thinking” เปิดเรียนแล้ววันนี้ เพื่อนๆที่สนใจ เรียนรู้ทักษะการเขียน มาลุยด้วยกันนะคร้าบ สอนฟรีแบบนี้ แม่ถามเอาตังต์ไหนกินข้าว ยั๊งงง 555+

สมัครเรียนฟรีคอร์ส Writing 101 ได้ที่

Writing as a Thinking Tool

ปล. ใครเรียนจบแล้ว มาแชร์ Feedback ให้แอดหน่อยน๊า แอดอ่านเองทุกคอมเมนต์เลยค้าบ กราบบบ

PodDash - One Lesson At A Time 💯