EP01 - The Origin of Nothing

Carl Pei ในวัย 34 ปีกับประสบการณ์สร้างแบรนด์ Nothing รายได้ปีละสองหมื่นล้านบาทภายในสองปี

EP01 - The Origin of Nothing
Carl Pei

Carl Pei ในวัย 34 ปีกับประสบการณ์สร้างแบรนด์ Nothing รายได้ปีละสองหมื่นล้านบาทภายในสองปี - PodDash EP.01

ถอดบทสัมภาษณ์ของ Carl Pei และ Garry Tan, CEO ของ Y Combinator ที่ลงทุนใน Startup ไปแล้วมากกว่าหกแสนล้านเหรียญ

สรุปไอเดียสำคัญการสร้าง Nothing และปรัชญา Startup ของ Carl Pei สนุกมาก ยั๊งงงง 555+

Carl Pei เกิดที่ประเทศจีนในปี 1989 แต่ย้ายมาเติบโตที่ประเทศสวีเดน เรารู้จัก Carl ในนาม Co-Founder ของ OnePlus และผู้ก่อตั้ง Nothing สองแบรนด์สมาร์ทโฟนเขย่าโลกออนไลน์ สไตล์อินดี้ๆ

Carl ชื่นชอบเรื่อง IT Gadget มาตั้งแต่สมัยเด็ก เป็นคนแรกๆในสวีเดนที่ได้จับ iPod แต่ใช้แป๊บเดียวมันก็พังเลย เศร้ามาก 555+

Carl เดินทางไปเยี่ยมญาติที่ประเทศจีน แวะเข้าร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า เจอเครื่องเล่น MP3 ยี่ห้อ Meizu ไม่เคยรู้มาก่อนว่าประเทศจีนสามารถผลิตของแบบนี้ได้ด้วย ดีไซน์สวย ฟีเจอร์ครบ

พอกลับถึงสวีเดนเลยสร้าง Fan Community เกี่ยวกับ Gadget และช่วยโปรโมท Meizu จนบริษัทบอกว่าเรียนจบแล้วมาทำงานด้วยกันเลยนะ

Carl ตัดสินใจย้ายมาทำงานที่ประเทศจีนในปี 2011 สะสมประสบการณ์ เรียนรู้เทคโนโลยีการสร้าง Hardware ในวงการสมาร์ทโฟนเป็นสิบปี

เริ่มจาก Meizu แล้วย้ายไปร่วมงานกับ Oppo ที่กำลังจะเปิดตัวแบรนด์ใหม่ชื่อ OnePlus บุกตลาดออนไลน์แบบ 100% ตัว Carl เลยยกมือขอรับหน้าที่นั้นเอง

OnePlus ใช้ระบบ Logistic และ Supply Chain ต่างๆของ Oppo ที่เน้นตลาดออฟไลน์ เติบโตอย่างแข็งแกร่งในประเทศจีน และเริ่มขยายออกต่างประเทศ

Carl ทำงานกับ OnePlus ถึงปี 2020 เค้าเล่าว่า “ผมทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลาเจ็ดปี ไม่ได้หยุดไปเที่ยวไหนไกลๆเลย”

เลยตัดสินใจลาออก อยากไปเที่ยว เดินทางรอบโลก แต่ออกเที่ยวได้แค่ 10 วัน ก็อยากกลับมาทำงานแล้ว ยั๊งงง คนบ้างานของแทร่ 555+

เดินทางกลับบ้านที่ Stockholm ไปคุยกับ Entrepreneurs หลายๆคน เรียนรู้วิธีการ Raise Fund เพื่อจะนำมาเงินลงทุนมาใช้สร้างแบรนด์ใหม่ของตัวเอง

ตอนนั้นภาพของ Nothing ในหัว Carl ยังไม่ชัดว่าจะออกมารูปแบบไหน แต่ Carl อยากนำความรู้ที่ได้จาก OnePlus มาสร้างสิ่งใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม

การจะสร้าง ผลิต Smartphone รุ่นหนึ่งๆต้องใช้เงินประมาณ 100 ล้านเหรียญ USD แต่ Carl รู้ตัวว่าเค้าไม่สามารถหาเงินก้อนนั้นได้แน่ๆใน Seed Stage

นอกจากปัญหาเรื่องเงินทุน Carl ยังหาโรงงานผลิต Contract Manufacturer ที่กล้าเสี่ยงกับแบรนด์น้องใหม่อย่าง Nothing ไม่ได้เลยด้วย

ไม่รู้ว่าโชคดีหรือเปล่า สุดท้าย Carl ไปจับมือกับโรงงานเจ้าหนึ่งที่กำลังจะเจ๊ง 555+ แล้วเปลี่ยนแผนจากผลิต Smartphone มาเป็นหูฟัง Earbuds แทน

Nothing ดูแลเรื่องการออกแบบและงานวิศวกรรม แต่โรงงานไม่สามารถจะทำตาม Blueprint ที่ Nothing วางไว้ได้ Carl บอกตอนนั้น ชิบหายขั้นสุด 555+

90% ของ Ear One ล็อตแรกที่โรงงานผลิตเกิดปัญหาเรื่องชาร์จไฟไม่เข้า จน Carl ต้องส่งทีม Engineers 15 คนเข้าไปควบคุม ดูแลการผลิตในโรงงานเองหมดเลย

พอแก้เรื่องคุณภาพได้แล้ว Nothing ผลิตและส่งมอบ Ear One รุ่นแรกไปได้มากกว่า 600,000 ตัว Carl บอกว่า "We saved it but it was very uncomfortable"

“There’s a beauty to not having another option, it forces you to survive” - Carl เล่าในมุม Startup ถ้าต้องเจอกับสถานการณ์วิกฤต ทางเลือกเดียวคือต้องรอดไว้ก่อน

ทุกครั้งที่เจอปัญหา พวกเรากลับมาแข็งแกร่งขึ้นเสมอ วัฒนธรรมของ Nothing ในรูปแบบ Startup คือแข็งแกร่งมากๆ "Desire to keep on living"

Nothing เติบโตแบบก้าวกระโดดภายในสองปี รายได้ทะลุ 600 ล้านเหรียญต่อปี เป็นแบรนด์เทคโนโลยี ที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณแห่งดีไซน์ เสริมความ Luxury หน่อยๆ ในราคาที่ทุกคนจับต้องได้

กลุ่มลูกค้าของ Nothing คือคนที่มีความกระตือรือร้น และเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ Target ของแบรนด์ชัดเจนมาก หลับตาเห็นภาพคนใช้ Nothing ได้ง่ายๆเลย

Carl คิดว่าบริษัท Hardware Startup ควรเป็นอย่าง Tim Cook มากกว่า Jony Ive การอยู่รอดคือภารกิจที่ยิ่งใหญ่สุดของบริษัท 90% เป็นแบบ Tim Cook ก่อนดีกว่า

แล้วถ้าแบรนด์เริ่มสร้างรายได้ มีกำไร เราค่อยๆปรับทิศทางมาเป็น Jony Ive ตำนานแห่งโลกดีไซน์ในวงการเทคมากขึ้นก็ได้ 80% Be Safe + 20% Take A Risk

จุดเด่นของโทรศัพท์ Nothing คือ “Glyph Interface” หรือไฟ LED หลังตัวเครื่องที่ Carl บอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก Jesper Kouthoofd ผู้ก่อตั้ง Teenage Engineering

👍
ถ้าลูกค้าเห็น Product แค่ 2-3 วินาที เค้าควรจะต้องวาดรูป Product ของเราได้เลย ฟีเจอร์บางอย่างต้องเป็นจุดเด่นหรือ Iconic ที่ทำให้พวกเค้าจำได้

ในแง่ Design ทีม Nothing สร้าง Glyph ไม่ใช่แค่เพื่อความสวยงาม แต่สามารถใช้งานได้จริง เช่น จับเวลา แจ้งเตือน หรือบอกว่าอีกกี่นาที Uber จะมาถึงที่นัดหมาย

และที่สำคัญที่สุด Glyph Interface ช่วยให้ Users ไม่ต้องเปิดโทรศัพท์ขึ้นมาดูบ่อยๆ หลุดพ้นจาก Doom Scrolling แค่เห็นไฟ LED ก็รู้อะไรหลายๆอย่างได้เลย

Space Odyssey คือหนัง Sci-Fi ที่ Carl และทีมงาน Nothing นำมาเป็นใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ถึงขั้นติดรูปไว้ใน Mood Board

ถึง Carl จะชอบเรื่อง Gadget มากๆแต่สำหรับนาฬิกาเค้าขอใส่แบบธรรมดาดีกว่า “แค่มีโทรศัพท์อยู่กับตัว ผมก็ได้ Notifications เยอะมากแล้ว ยั๊งงง 555+”

Carl เล่าปิดท้ายว่าลำดับในการออก Products ต่างๆที่เราทำสำคัญมาก และต้องคิดเรื่องการสร้างความเชื่อถือให้กับแบรนด์ด้วย

ฟังสัมภาษณ์ Carl แบบเต็มๆได้ที่ช่อง Y Combinator (21:10)

PodDash - One Lesson At A Time 💯