EP08 - The Science of Memorable Message

เทคนิคการเขียนยังไงให้น่าจดจำด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ Neuroscience ของ Charan Ranganath

EP08 - The Science of Memorable Message
Charan Ranganath

เขียนยังไงให้ "น่าจดจำ" ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ Neuroscience โดย อ. Charan Ranganath

เมื่อวานแอดนั่งอ่านบทความใหม่ของ Harvard Business Review ชื่อ “How to Craft a Memorable Message” ของ อ. Charan สั้นๆ แต่ได้ความรู้เยอะมาก

สรุปไอเดียสำคัญเทคนิคการสร้างคอนเทนต์ที่น่าจดจำ

Charan Ranganath เป็นอาจารย์ด้าน Neuroscience เพิ่งออกหนังสือเล่มใหม่ Why We Remember (2024) ติดอยู่ในลิสต์หนังสือน่าอ่านของ Amazon ประจำปีนี้แล้ว

อ. ถามว่า “เคยไหมที่เข้าประชุม แต่เดินออกมาจากห้อง จำอะไรไม่ได้เลย?” อยากบอก อ. ว่าบ่อยเลยคร้าบ ยั๊งงง 555+

“We make our decisions in terms of our memories” - Daniel Kahneman สิ่งที่เราเขียนจะมีประโยชน์ ก็ต่อเมื่อผู้อ่านจำเนื้อหานั้นได้

อ. Charan นำเสนอหลักการ “4C” ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้ Audience ของเราจดจำเนื้อหาที่เรานำเสนอได้ดีขึ้น

  1. Chunk - แบ่งข้อมูลเป็นส่วนๆ
  2. Concrete - ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
  3. Callback - ทบทวนซ้ำๆหรือ “Recall”
  4. Curiosity - ปลุกความอยากรู้ในตัวผู้อ่าน

เหตุผลที่ต้อง "Chunk" ข้อมูล เพราะสมองเรามี “Working Memory Capacity” ที่จำกัดมากๆ

ตัวอย่างการ Chunk เบอร์โทรศัพท์เป็นสามส่วน เช่น 089-555-5555

ยิ่งผู้อ่านจินตนาการภาพในหัวได้ชัดเท่าไหร่ ยิ่งจดจำเนื้อหาเราได้มากขึ้นเท่านั้น “Concrete” คือการสร้าง “Vivid Memory” ในสมองผู้อ่านด้วยเทคนิคง่ายๆอย่าง “Storytelling” และ “Emotion”

“Callback” คือการให้ผู้อ่านได้นึกย้อนกลับไปถึงสิ่งที่เราเขียนในบทก่อนหน้า เช่น “As we found in the last chapter …” เพื่อสร้าง “Connection” ระหว่างข้อมูลเก่าและใหม่

ตัวสุดท้าย “Curiosity” คือการเปิดสิ่งที่เรียกว่า “Knowledge Gap” เล่นกับความอยากรู้อยากเห็น

ตัวอย่างเช่น “แก ฉันมีเรื่องจะบอก อย่าไปเล่าต่อนะ ความลับ” … เล่าจบ รู้กันทั้งบริษัท เดี๋ยวๆ 555+

ตอนแอดเรียนวิชา Learning How to Learn ของ Barbara Oakley อ. ก็มีสอนเรื่อง “Chunking” เป็นหนึ่งในเทคนิคการเรียนที่ทรงพลังที่สุด

อ. ยกตัวอย่างปลาหมึกที่มีสี่แขน เหมือน Working Memory ในระยะสั้นที่รับข้อมูลได้จำกัดมากๆแค่ 4-5 Chunks เท่านั้น

เราเห็นตัวอย่าง Chunking ในชีวิตประจำวันเกือบทุกที่ ตั้งแต่เบอร์โทรศัพท์ ไอดีบัตร Chapters ในหนังสือเรียน หรือ Story ที่ต้องมีสาม Acts [Beginning, Middle, Ending]

“ถ้าอยากให้งานเขียนของเรามีพลังในการเปลี่ยนแปลงชีวิต ต้องช่วยให้ผู้อ่านจำมันได้ก่อน” - Charan Ranganath

เราสามารถประยุกต์ใช้ 4C ได้ในงานเขียน อีเมล Social Media หรือการขึ้นพูดในโอกาสต่างๆ ยิ่ง “Message” ของเรามีความสำคัญมากเท่าไหร่ การนำเสนอมันยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น

มาทบทวนกันแบบไวๆ ใครอ่านจบแล้ว จำ 4C ได้ครบไหม 555+ พิมพ์คอมเมนต์ได้ในแชทเลยคร้าบ ยิ่ง Recall บ่อย ยิ่งจำได้แม่น สุดยอด อ่านบทความนี้แบบเต็มๆได้ที่

How to Craft a Memorable Message, According to Science
Numerous researches have shown that we forget much of what we experience in a day. Knowing this, how do you create messages so there is a better chance of people remembering them? The author uses concepts from memory science to help you craft messages — whether it’s a presentation, an email, or a speech — that will be likely to stick. One way to craft a memorable message is to chunk it up. Explicitly tie together the points that you want to convey under the umbrella of a central idea. With this approach, your listener can stitch the pieces together in a meaningful way and build a rich memory for that material. Or, when communicating about a complex topic, you can make your message memorable with a concrete example instead of something vague. Remember to provide callbacks as recalling something that we previously learned can make it stronger and easier to access when we will need it. Lastly, spark their curiosity. The key to memorable communication lies not in conveying the answer, but in establishing a compelling question.

เพิ่งจ่ายค่า Subscription ให้ HBR ไป ปีละห้าพันบาท แงๆ ต้องใช้ให้คุ้ม ยั๊งงง 555+

PodDash - One Lesson At A Time 💯